วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

มาเขียนหนังสือกันเถอะ

มาเขียนหนังสือกันเถอะ
ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์(ดร.โทนี่)
www.drsuthichai.com
                                การเขียนหนังสือเก่งทำให้ท่านได้เปรียบผู้อื่น   การ เขียนหนังสือเก่งทำให้ท่านได้ชื่อเสียง เงินทอง การเขียนหนังสือเก่งทำให้ท่านได้รับตำแหน่งสูงกว่าผู้อื่น และการเขียนหนังสือเก่งทำให้ท่านได้รับสิ่งต่างๆอีกมากมาย 
                                ใน อดีต ท่านอาจจะได้ยินคำพูดที่ว่าการเป็นนักเขียนนั้นไส้แห้ง อาจเป็นความจริง แต่ในยุคปัจจุบันถ้าท่านเขียนหนังสือเก่ง ท่านสามารถมีรายได้มากมายมหาศาลดังเช่น เจ.เค.โรว์ลิ่ง ผู้เขียน แฮร์รี่ พอตเตอร์ กลายเป็นนักเขียนที่รวยที่สุดในโลกขณะนี้
                                สำหรับ ท่านที่ต้องการจะเป็นนักเขียนนั้นไม่ใช่เรื่องยากเลยในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร เราสามารถหาข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายกว่าในอดีตเป็นอันมาก เรามีระบบอินเตอร์เน็ตซึ่งช่วยให้ผู้ที่หัดเขียน
หา ข้อมูลเพื่อมาประกอบการเขียนได้ในเวลาอันรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย ในอดีต เราต้องไปหาตามห้องสมุด ซึ่งห้องสมุดหลายแห่งไม่มีหนังสือหรือข้อมูลที่เราต้องการ แต่ปัจจุบันเรามีห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ อินเตอร์เน็ตนั้นเอง
                                สำหรับคนที่ต้องการเป็นนักเขียนจำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 
1.เป็นนักอ่านที่ดี  ชอบ อ่านหนังสือ หาข้อมูลเพื่อใช้ในงานเขียนของตน เนื่องจากงานเขียนจำเป็นจะต้องมีเนื้อหา มีสาระ มีศิลปะในการใช้ภาษา ดังนั้น ผู้ที่อ่านมาก ย่อมมีข้อมูลมากและมีความแตกฉานในเรื่องของการใช้ภาษา
                สำหรับประเทศไทย มีข้อเท็จจริงในเชิงสถิติที่น่าห่วงใย ปัจจุบันอัตราการอ่านหนังสือของเด็กและเยาวชนไทยต่อปีอยู่ในระดับต่ำมาก โดยเฉลี่ยอยู่ที่ ๕ เล่มต่อคนต่อปีเท่านั้น ต่ำกว่าประเทศเวียดนามที่กำลังเร่งพัฒนาประเทศไล่กวดไทยอยู่ในขณะนี้ หากเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งของไทยอื่นๆ ปรากฏว่าคนสิงคโปร์มีอัตราการอ่านเฉลี่ย ๑๗ เล่มและมาเลเซีย ๔๐ เล่มต่อคนต่อปี ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น มีอัตราการอ่าน ๕๐ เล่มต่อคนต่อปี(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 กพ.52)
2.เป็น นักจินตนาการและช่างฝัน การเป็นนักเขียนที่ดีและประสบความสำเร็จจำเป็นที่ต้องมีจินตนาการเพื่อสร้าง ความแตกต่างจากผู้อื่น เพราะถ้าไม่มีจินตนาการและการช่างฝัน นักเขียนผู้นั้นก็มักจะเขียนแนวทางเดียวกันกับนักเขียนทั่วไป และเมื่อเขียนในแนวทางเดียวกันกับนักเขียนทั่วไปแล้ว  ก็มักจะไม่ประสบความสำเร็จ
3.ถ้าอยากเป็นนักเขียน ก็จง เขียน เขียน และเขียน  เนื่องจากการเขียนมีหลายแนว เช่น แนวนิยายตำราเรียน บทความ กลอน คำคม เขียนบทละครวิทยุ เขียนบทละครโทรทัศน์  จง หัดเขียนเรื่องที่ตนถนัดก่อน เพราะการฝืนเขียนเรื่องที่ตนไม่ถนัดนักมันจะทรมานมากกว่าที่จะเกิดความสนุก สนาน ยากนักที่จะประสบความสำเร็จ  เมื่อคิดว่าทรมานสุดท้ายก็จะเลิกเขียนในที่สุด  จงเขียนด้วยภาษาที่ง่ายๆ  บาง คนคิดว่าควรเขียนภาษาที่ยากๆ เข้าใจยังหรือคำศัพท์ยากนะดี ความจริงไม่ใช่เลย นักเขียนที่ดีควรใช้ภาษาที่เรียบง่าย เพื่อให้คนอ่านเกิดความเข้าใจที่ตรงกันกับผู้เขียน และถ้าเป็นไปได้จงเขียนทุกๆวัน
                สำหรับท่านที่คิดว่าตัวเองมีคุณสมบัติของนักเขียนที่ดีแล้ว แต่มีปัญหาว่าจะเข้าสู่วงการได้อย่างไร
สำหรับ ผมคิดว่า ท่านควรเริ่มเวทีเล็กๆก่อนหรือหาโอกาสส่งข้อเขียนของท่านไปยังหนังสือพิมพ์ ท้องถิ่น วารสารท้องถิ่น หรือของหน่วยงานก่อน  อย่าไปหวังว่าถ้าไม่ได้ลงในหนังสือพิมพ์ระดับชาติแล้วจะไม่เขียน ในที่สุดท่านอาจจะไม่ได้เขียน เพราะ หนังสือพิมพ์ระดับชาติ  วารสารระดับชาติ ส่วนใหญ่เขาก็จะมีนักเขียนที่มีชื่อเสียงเขียนให้อยู่แล้ว
                ดัง นั้น ขอให้ใช้เวทีเล็กให้เป็นประโยชน์ก่อน เมื่อเขียนเก่ง เมื่อมีชื่อเสียง เดี๋ยว หนังสือพิมพ์ วารสารระดับชาติ เขาก็จะเชิญเอง เนื่องจาก ท่านเขียนดีขึ้น เก่งขึ้น มีชื่อเสียงมากขึ้นนั้นเอง 
                สำหรับ นักเขียนใหม่ กระผมแนะนำว่า ท่านควรหางานประจำทำเพื่อเลี้ยงชีพก่อน แล้วจึงใช้เวลาว่างจากการทำงาน เขียนบทความ ข้อเขียนที่ตนถนัด เพราะถ้าหวังแต่จะหารายได้จากการเขียน ทั้งๆที่ยังไม่ดัง เกรงว่าท่านจะอดตายเสียก่อน
จงทำให้ผู้อ่านสนุกสนาน  ขณะเดียวกันก็สอนเขาไปด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น