วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

บทความที่ดี

บทความที่ดี
โดย..สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
            ผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตส่วนใหญ่มักจะเป็นนักสื่อสาร ไม่ว่าจะด้วยการพูดหรือการเขียน ถามถ้าว่าระหว่างการพูดกับการเขียน อะไรยากกว่ากัน ผมเชื่อแน่ว่า คนส่วนใหญ่มักจะบอกว่าเขียนซิยากกว่าพูด
                แต่ การเขียนก็เหมือนกับการพูดอย่างหนึ่งก็คือ ถ้าเราอยากเป็นนักเขียน เราต้องเริ่มศึกษาหาความรู้หลักวิชาการเขียนแล้วจึงเริ่มเขียนครับ เหมือนกัน คนพูดเก่งก็มักจะมีหลักวิชาแล้วจึงพัฒนาฝึกฝนการพูดจนสามารถพูดได้ดี การเขียนก็เช่นกัน
            ดังนั้นเราสามารถพัฒนาการเขียนของเราได้ถ้าเรามีความพยายามเพราะการเขียนมีความสำคัญต่อชีวิต
นักเรียน ต้องเขียน การบ้าน ข้อสอบ รายงานส่งครู  ,  ครู อาจารย์  ต้องเขียน  หนังสือ ตำรา เอกสารประกอบการสอน , นักข่าว ต้องเขียนข่าว  ฯลฯ้วจึงเริ่มเขียนครับ เ

                แต่ถ้าจะพูดถึงงานเขียนแล้วมีหลากหลายประเภทด้วยกัน ไม่ว่างานเขียนนวนิยาย  งานเขียนสารคดี  งานเขียนตำรา  งาน เขียนเรียงความ งานเขียนบันทึก และ งานเขียนบันเทิงคดี เรื่องเล่า นิทาน เรื่องสั้น บทละครพูด ฯลฯ สำหรับบทความฉบับนี้เราจะมาพูดถึงงานเขียนบทความที่ดี
            การเขียนบทความมีความคล้ายกับการเขียนเรียงความ คือ มีชื่อเรื่อง มีคำนำ มีเนื้อเรื่องและสรุปจบ
แต่มีความแตกต่างกันบางประการเช่น บทความมักจะต้องมีความคิดเห็นของผู้เขียนกับข้อเท็จจริงประกอบอ้างอิง
ส่วน เรียงความมักจะมุ่งเรื่องความรู้มากกว่าการแสดงความคิดเห็นของผู้เขียนบท ความ ข้อแตกต่างอีกประการหนึ่งก็คือ การเขียนบทความมักจะมีความทันสมัยมากกว่าการเขียนเรียงความ การเขียนเรียงความอาจเขียนเรื่องในอดีต อนาคต แต่การเขียนบทความผู้เขียนมักจะเขียนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ใน ปัจจุบัน
                สำหรับประเภทของบทความ มีการแบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน เช่น  บทความทางวิชาการ,บทความแสดงความคิดเห็น,บทความเชิงวิจารณ์,บทความประเภทสัมภาษณ์ ฯลฯ

                แต่การเขียนบทความที่ดีส่วนใหญ่มักจะแบ่งส่วนสำคัญออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนแรก คือ ชื่อเรื่อง  ส่วนที่สอง คือ คำนำ ส่วนที่สาม คือ เนื้อเรื้อง ส่วนที่สี่ คือ สรุป จบ
                เรา ลองมาดูส่วนแรกกัน คือชื่อเรื่อง ทำอย่างไรให้ผู้อ่าน เห็นแล้วเกิดอาการอยากอ่าน...อยากรู้....การตั้งชื่อเรื่องที่ดีเป็นอย่าง ไร...ผมอยากแนะนำให้ไปดู พาดหัวตัวใหญ่ หน้าหนึ่ง...หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ต่างๆ เช่น นสพ.ไทยรัฐ , นสพ.เดลินิวส์ ,นสพ.มติชน ฯลฯ เมื่อได้อ่านแล้วเกิดอาการอยากอ่านเนื้อหาต่อ
                ส่วน ที่สองคือ คำนำ ต้องสอดคล้องกับหัวข้อเรื่อง...บอกย่อๆว่า...เกิดอะไร...ที่ไหน...เมื่อไร.. เร้าความสนใจ...คำนำมักจะอยู่ย่อหน้าแรกของบทความ อาจขึ้นต้นด้วยคำถาม อาจขึ้นต้นด้วยการยกตัวอย่างหรือด้วยการเหตุการณ์เพื่อโยงไปถึงส่วนของ เนื้อหา

                ส่วน ที่สาม คือ เนื้อเรื่อง ต้องสอดคล้องกับคำนำและสรุปจบ ...มีความเป็นเอกภาพ...บอกรายละเอียด...มีความกลมกลืน...อาจลำดับเวลา สถานที่ ก่อนหลัง จากอดีต มาปัจจุบัน ไปอนาคต หรือจากน้อยไปหามาก  ส่วนของเนื้อเรื่องจะใช้พื้นที่มากที่สุดในการเขียนบทความ

                ส่วนที่สี่ คือ สรุปจบมักจะเฉลยส่วนสำคัญของเรื่อง....มักจะอยู่ย่อหน้าสุดท้ายของบทความ อาจให้แง่คิดที่สำคัญของบทความที่เขียน  มีความสั้นกระชับ มีความยาวใกล้เคียงกับคำนำ
                สรุป  การ ตั้งชื่อเรื่องต้องหยุดคนอ่านได้ เห็นชื่อเรื่องแล้วอยากรู้อยากอ่านต่อ คำนำต้องยั่วยุให้อยากอ่านเนื้อเรื่อง เนื้อเรื่องต้องกลมกลืน มีเอกภาพ  สรุปจบต้องประทับใจผู้อ่าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น