วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

หลักการเขียนบทความ

หลักการเขียนบทความ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ลับปากกาคอยอนาคต เพราะการเขียนดี เป็นเครื่องมือสำคัญในความก้าวหน้าของท่าน
                ถ้าพูดถึงเรื่องงานเขียน งานเขียนมีหลายประเภทเช่น การเขียนนิทาน การเขียนเรื่องสั้น การเขียนเรียงความ การเขียนบทละคร การเขียนสารคดี การเขียนนวนิยาย การเขียนบทความ ฯลฯ
                ถ้ามีคนถามกระผมว่า แล้วผมชอบงานเขียนประเภทใด กระผมขอตอบแบบไม่คิดว่า กระผมชอบงานเขียนประเภทการเขียนบทความครับ แล้วกระผมก็มีโอกาสเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นและระดับประเทศเฉพาะ เดือนละไม่ต่ำกว่า 15 บทความ ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับบรรดานักเขียนที่มีผลงานเป็นประจำ ทั้งนี้ทั้งนั้นอาจเป็นเพราะว่ากระผมทำงานประจำและทำงานหลายด้านจึงไม่ค่อย มีเวลาเขียน
                แต่การที่กระผมได้มีโอกาสเขียนบทความเดือนละไม่ต่ำกว่า 15 บทความต่อเดือน แล้วเขียนมานานกว่า 10 ปี จึงอยากเขียนบทความฉบับนี้เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ให้แก่ท่านผู้อ่านและถ้า ท่านผู้อ่านมีอะไรเพิ่มเติมก็สามารถเสนอความคิดเห็นถึงกระผมได้ครับ
                บทความ หมายถึง ความเรียงร้อยแก้ว ที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงความคิดเห็นของผู้เขียน โดยมีหลักฐานประกอบ อ้างอิง แต่ควรมีความคิดเห็นของผู้เขียนมากกว่าการแสดงข้อมูลหลักฐานต่าง เพราะถ้ามีข้อมูลมากๆ ก็จะกลายเป็นรายงานไปในที่สุด
                การเขียนบทความที่ดีควรจะมีลักษณะคือ ต้องมีความน่าสนใจ มีเนื้อหาที่แปลกใหม่ มีความกะทัดรัด มีการอ้างอิง และมีวิธีการเขียนที่น่าสนใจชวนให้ติดตาม
                หลักการเขียนบทความที่ดี ควรมีโครงเรื่องแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ มีคำนำ มีเนื้อเรื่องและมีสรุปจบ ซึ่งทั้ง 3 ตอน ต้องมีความสอดคล้องกัน  สัมพันธ์กัน อาจลำดับความตามเวลา อาจลำดับความจากเหตุไปสู่ผล อาจลำดับความจากคำถามไปสู่คำตอบ
                สำหรับ ชื่อเรื่อง ควรตั้งชื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เมื่อคนอ่านแล้ว อยากรู้ อยากอ่านว่ามันเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
                ลักษณะของการเขียนบทความที่ดีจะต้องมีการแสดงความคิดเห็นของผู้เขียน ที่แหลมคม มีเหตุมีผล มีความคิดที่ลึกซึ้งกว่านักเขียนคนอื่นๆ  ขณะเดียวกันการนำเสนอ สำนวนโวหาร ที่ดีจะเป็นส่วนช่วยให้งานเขียนบทความเกิดความน่าอ่านยิ่งขึ้น
                งานเขียนแบ่งออกเป็นหลายประเภท สำหรับงานการเขียนบทความก็แบ่งออกเป็นหลายประเภทเช่นกัน เช่น งานเขียนบทความประเภทวิจารณ์  บทความสัมภาษณ์ บทความเชิงวิชาการ บทความวิเคราะห์ บทความชีวประวัติ บทความให้คำแนะนำ เป็นต้น
                ท้ายนี้กระผมอยากฝากคำแนะนำสำหรับท่านผู้อ่านที่ต้องการเขียนบทความ เริ่มแรกท่านควรเลือกเรื่องที่ตนเองไม่มีความรู้ ไม่มีความถนัด  เมื่อท่านสามารถเขียนบทความจากเรื่องที่ตนถนัดแล้ว ท่านจะเริ่มมีทักษะในการเขียนบทความ และเมื่อท่านต้องการให้บทความท่านเป็นที่นิยมหรือผู้อ่านรู้จัก ท่านก็ควรเขียนบทความในเรื่องที่ผู้คนกำลังให้ความสนใจเลือกเขียนเรื่องที่ ตนเองถนัด มีประสบการณ์ ท่านก็สามารถเขียนเรื่องนั้นได้ง่ายกว่าการที่ท่าน
                อีกทั้งไม่ควรใช้ถ้อยคำที่ฟุ่มเฟือย ไม่เขียนวกวน ควรเขียนคำให้ถูกต้อง ควรมีพจนานุกรมไทยเป็นของตนเอง ควรมีย่อหน้าให้เหมาะสม เพราะการมีย่อหน้าจะทำให้ผู้อ่านอ่านบทความของท่านได้ง่ายกว่าการไม่มี ย่อหน้า  ต้องแสดงข้อมูลหลักฐานที่เป็นความจริง เช่น สถิติ ตัวเลข แผนภูมิ ถ้าหากจะใช้วิธีการเขียนบทความแบบตั้งคำถามแก่ผู้อ่าน ก็ควรหาคำตอบไว้เป็นลำดับ  และต้องมีความกล้าหาญในการแสดงความคิดเห็น แต่เป็นความคิดเห็นประเภทสร้างสรรค์ ไม่ใช่ความคิดเห็นในทางทำลาย
ไม่มีน้ำตา เสียงหัวเราะจากนักเขียนก็ไม่มีน้ำตาและเสียงหัวเราะจากผู้อ่าน

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

มาเขียนหนังสือกันเถอะ

มาเขียนหนังสือกันเถอะ
ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์(ดร.โทนี่)
www.drsuthichai.com
                                การเขียนหนังสือเก่งทำให้ท่านได้เปรียบผู้อื่น   การ เขียนหนังสือเก่งทำให้ท่านได้ชื่อเสียง เงินทอง การเขียนหนังสือเก่งทำให้ท่านได้รับตำแหน่งสูงกว่าผู้อื่น และการเขียนหนังสือเก่งทำให้ท่านได้รับสิ่งต่างๆอีกมากมาย 
                                ใน อดีต ท่านอาจจะได้ยินคำพูดที่ว่าการเป็นนักเขียนนั้นไส้แห้ง อาจเป็นความจริง แต่ในยุคปัจจุบันถ้าท่านเขียนหนังสือเก่ง ท่านสามารถมีรายได้มากมายมหาศาลดังเช่น เจ.เค.โรว์ลิ่ง ผู้เขียน แฮร์รี่ พอตเตอร์ กลายเป็นนักเขียนที่รวยที่สุดในโลกขณะนี้
                                สำหรับ ท่านที่ต้องการจะเป็นนักเขียนนั้นไม่ใช่เรื่องยากเลยในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร เราสามารถหาข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายกว่าในอดีตเป็นอันมาก เรามีระบบอินเตอร์เน็ตซึ่งช่วยให้ผู้ที่หัดเขียน
หา ข้อมูลเพื่อมาประกอบการเขียนได้ในเวลาอันรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย ในอดีต เราต้องไปหาตามห้องสมุด ซึ่งห้องสมุดหลายแห่งไม่มีหนังสือหรือข้อมูลที่เราต้องการ แต่ปัจจุบันเรามีห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ อินเตอร์เน็ตนั้นเอง
                                สำหรับคนที่ต้องการเป็นนักเขียนจำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 
1.เป็นนักอ่านที่ดี  ชอบ อ่านหนังสือ หาข้อมูลเพื่อใช้ในงานเขียนของตน เนื่องจากงานเขียนจำเป็นจะต้องมีเนื้อหา มีสาระ มีศิลปะในการใช้ภาษา ดังนั้น ผู้ที่อ่านมาก ย่อมมีข้อมูลมากและมีความแตกฉานในเรื่องของการใช้ภาษา
                สำหรับประเทศไทย มีข้อเท็จจริงในเชิงสถิติที่น่าห่วงใย ปัจจุบันอัตราการอ่านหนังสือของเด็กและเยาวชนไทยต่อปีอยู่ในระดับต่ำมาก โดยเฉลี่ยอยู่ที่ ๕ เล่มต่อคนต่อปีเท่านั้น ต่ำกว่าประเทศเวียดนามที่กำลังเร่งพัฒนาประเทศไล่กวดไทยอยู่ในขณะนี้ หากเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งของไทยอื่นๆ ปรากฏว่าคนสิงคโปร์มีอัตราการอ่านเฉลี่ย ๑๗ เล่มและมาเลเซีย ๔๐ เล่มต่อคนต่อปี ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น มีอัตราการอ่าน ๕๐ เล่มต่อคนต่อปี(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 กพ.52)
2.เป็น นักจินตนาการและช่างฝัน การเป็นนักเขียนที่ดีและประสบความสำเร็จจำเป็นที่ต้องมีจินตนาการเพื่อสร้าง ความแตกต่างจากผู้อื่น เพราะถ้าไม่มีจินตนาการและการช่างฝัน นักเขียนผู้นั้นก็มักจะเขียนแนวทางเดียวกันกับนักเขียนทั่วไป และเมื่อเขียนในแนวทางเดียวกันกับนักเขียนทั่วไปแล้ว  ก็มักจะไม่ประสบความสำเร็จ
3.ถ้าอยากเป็นนักเขียน ก็จง เขียน เขียน และเขียน  เนื่องจากการเขียนมีหลายแนว เช่น แนวนิยายตำราเรียน บทความ กลอน คำคม เขียนบทละครวิทยุ เขียนบทละครโทรทัศน์  จง หัดเขียนเรื่องที่ตนถนัดก่อน เพราะการฝืนเขียนเรื่องที่ตนไม่ถนัดนักมันจะทรมานมากกว่าที่จะเกิดความสนุก สนาน ยากนักที่จะประสบความสำเร็จ  เมื่อคิดว่าทรมานสุดท้ายก็จะเลิกเขียนในที่สุด  จงเขียนด้วยภาษาที่ง่ายๆ  บาง คนคิดว่าควรเขียนภาษาที่ยากๆ เข้าใจยังหรือคำศัพท์ยากนะดี ความจริงไม่ใช่เลย นักเขียนที่ดีควรใช้ภาษาที่เรียบง่าย เพื่อให้คนอ่านเกิดความเข้าใจที่ตรงกันกับผู้เขียน และถ้าเป็นไปได้จงเขียนทุกๆวัน
                สำหรับท่านที่คิดว่าตัวเองมีคุณสมบัติของนักเขียนที่ดีแล้ว แต่มีปัญหาว่าจะเข้าสู่วงการได้อย่างไร
สำหรับ ผมคิดว่า ท่านควรเริ่มเวทีเล็กๆก่อนหรือหาโอกาสส่งข้อเขียนของท่านไปยังหนังสือพิมพ์ ท้องถิ่น วารสารท้องถิ่น หรือของหน่วยงานก่อน  อย่าไปหวังว่าถ้าไม่ได้ลงในหนังสือพิมพ์ระดับชาติแล้วจะไม่เขียน ในที่สุดท่านอาจจะไม่ได้เขียน เพราะ หนังสือพิมพ์ระดับชาติ  วารสารระดับชาติ ส่วนใหญ่เขาก็จะมีนักเขียนที่มีชื่อเสียงเขียนให้อยู่แล้ว
                ดัง นั้น ขอให้ใช้เวทีเล็กให้เป็นประโยชน์ก่อน เมื่อเขียนเก่ง เมื่อมีชื่อเสียง เดี๋ยว หนังสือพิมพ์ วารสารระดับชาติ เขาก็จะเชิญเอง เนื่องจาก ท่านเขียนดีขึ้น เก่งขึ้น มีชื่อเสียงมากขึ้นนั้นเอง 
                สำหรับ นักเขียนใหม่ กระผมแนะนำว่า ท่านควรหางานประจำทำเพื่อเลี้ยงชีพก่อน แล้วจึงใช้เวลาว่างจากการทำงาน เขียนบทความ ข้อเขียนที่ตนถนัด เพราะถ้าหวังแต่จะหารายได้จากการเขียน ทั้งๆที่ยังไม่ดัง เกรงว่าท่านจะอดตายเสียก่อน
จงทำให้ผู้อ่านสนุกสนาน  ขณะเดียวกันก็สอนเขาไปด้วย

นักเขียนบทความ

นักเขียนบทความ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
                ก่อนที่จะเป็นนักเขียนบทความที่ดี ท่านต้องเรียนรู้และทำความรู้จักกับการเขียนบทความประเภทต่างๆก่อน จึงจะทำให้ท่านเป็นนักเขียนบทความที่ดี ซึ่งการแยกประเภทของบทความต่างๆมีดังนี้ บทความเชิงวิชาการ บทความสัมภาษณ์ บทความแนะนำ บทความปกิณกะ บทความวิเคราะห์ บทความวิจารณ์ บทความแสดงความคิดเห็น เป็นต้น
                เมื่อท่านทำความเข้าใจและเรียนรู้ ประเภทของบทความแล้ว ท่านควรถามตนเองว่าท่านชอบเขียนบทความประเภทไหน หากไม่รู้ว่าตนเองชอบเขียนบทความประเภทไหน วิธีการง่ายๆ ท่านลองสังเกตตนเองว่า ตนเองชอบอ่านบทความประเภทไหนหรืออ่านบทความประเภทไหนแล้วมีความสุข
                คนที่จะเขียนบทความได้ดีนั้น ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร กล่าวคือคนที่จะเขียนบทความได้ดีนั้น ควรมีคุณสมบัติ 3 นัก คือ
                1.นักอ่าน ท่านต้องอ่านหนังสือทุกประเภท อ่านเพื่อสะสมข้อมูล การอ่านมากๆ โดยเฉพาะการอ่านบทความมากๆ จะทำให้เราได้เรียนรู้วิธีการเขียนบทความของนักเขียนบทความคนนั้นๆ ท่านอาจเลือก ต้นแบบคือนักเขียนบทความที่ท่านชอบหรือประทับใจ แล้วขยันติดตามอ่านผลงานของเขา แล้วจึงศึกษารูปแบบ การใช้คำ การใช้สำนวนต่างๆ วิธีการนำเสนอของเขาเป็นอย่างไรแล้วนำมาปรับเพื่อเป็นแนวการเขียนของตัวท่าน เอง
                2.นักนำเสนอหรือนักเล่าเรื่อง ผู้จะเขียนบทความได้ดี ต้องเป็นนักเล่าเรื่องที่ดี กล่าวคือ การเขียนบทความที่ดีต้องมีการนำเสนอที่เป็นระบบ มีความกระชับในเนื้อหา เนื่องจากการเขียนบทความที่ดีมีข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่ ไม่เหมือนกับการเขียนนวนิยายซึ่งท่านสามารถเขียนได้จำนวนมากหน้า แต่การเขียนบทความ โดยเฉพาะการเขียนบทความที่ลงตามหนังสือพิมพ์นั้น มีข้อจำกัดในด้านพื้นที่ของหน้าหนังสือพิมพ์ อีกทั้งยังต้องนำเสนอในเรื่องที่ทันสมัยหรือเป็นเรื่องที่น่าสนใจของคนส่วน มาก จึงจะทำให้บทความของท่าน เป็นที่รู้จักของผู้อ่าน
                3.นักพัฒนาตนเอง นักเขียนบทความที่ดีต้องมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งต้องมีแรงขับภายในตนเองสูง กล่าวคือ เมื่อท่านได้อ่านมาก ฟังมาก ท่านก็อยากที่จะเขียนเพื่ออยากระบายข้อมูลภายในตัวท่านเองออกมา นักเขียนบทความที่เก่งมักจะเรียนรู้ ปรับปรุงการเขียนบทความของตนเองอยู่เสมอ ฝึกคิดให้รอบด้าน ฝึกการคิดให้เกิดความแหลมคม ฝึกการใช้สำนวนภาษาต่างๆ ฝึกการจัดระบบความคิดและการเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ จากตนเองและผู้อื่น
                เมื่อท่านมีคุณสมบัติ 3 นัก หรือ หากไม่มีก็ต้องแสวงหา สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ต้องลงมือเขียนครับ อย่ากลัวหรือมีข้ออ้างต่างๆ  เช่น กลัวจะถูกวิจารณ์ กลัวว่าจะไม่ได้รับการตีพิมพ์ หรือ อ้างว่าไม่มีเวลา อ้างว่าไม่มีความสามารถในด้านนี้ เมื่อท่านมีความกลัวหรือมีข้ออ้างต่างๆ แล้ว ท่านก็ไม่สามารถที่จะเขียนบทความออกมาสู่สายตาของสาธารณะชนได้ จงลบความกลัวและข้ออ้างต่างๆ ออกจากความคิดของท่าน
                ดังนั้น นักเขียนบทความที่ดีและมีผลงานออกสู่สายตาสาธารณะชนมากๆ จะต้องสร้างแรงจูงใจ จากภายในและภายนอก เช่น การคิดถึงค่าตอบแทน การคิดถึงชื่อเสียง ความต้องการเป็นที่รู้จักหรือเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม และความรักความชอบ จึงทำให้นักเขียนบทความ ท่านนั้น สร้างผลงานออกมาอย่างมากมาย
การเขียนบทความที่ดีคือการเขียนบทความเพื่อสังคม

เส้นทางนักเขียน

เส้นทางนักเขียน
ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์(ดร.โทนี่)
                               ถ้าท่านไม่ได้เป็นนักอ่าน อย่าคิดเป็นนักเขียน คำพูดข้างต้นเป็นความจริงมากเลยที่เดียว ถ้าท่านอยากเขียนหนังสือเก่ง ท่านจำเป็นต้องอ่านให้มาก อ่านเพื่อเปรียบเทียบ ว่าการเขียนของใครดี ของใครไม่ดี ทำไมงานเขียนชิ้นนี้ ท่านถึงชอบ งานเขียนชิ้นนี้ ทำไมท่านถึงไม่ชอบ การเขียนหนังสือเก่งมักทำให้ท่านได้เปรียบผู้อื่น
                              การเขียนหนังสือเก่งทำให้ท่านได้ชื่อเสียง เงินทอง การเขียนหนังสือเก่งทำให้ท่านได้รับตำแหน่งสูงกว่าผู้อื่น และการเขียนหนังสือเก่งทำให้ท่านได้รับสิ่งต่างๆอีกมากมาย ในอดีต ท่านอาจจะได้ยินคำพูดที่ว่าการเป็นนักเขียนนั้นไส้แห้ง อาจเป็นความจริง แต่ในยุคปัจจุบันถ้าท่านเขียนหนังสือเก่ง ท่านสามารถมีรายได้มากมายมหาศาลดังเช่น เจ.เค.โรว์ลิ่ง ผู้เขียน แฮร์รี่ พอตเตอร์ กลายเป็นนักเขียนที่รวยที่สุดในโลกขณะนี้
                             สำหรับท่านที่ต้องการจะเป็นนักเขียนนั้นไม่ใช่เรื่องยากเลยในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร เราสามารถหาข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายกว่าในอดีตเป็นอันมาก เรามีระบบอินเตอร์เน็ตซึ่งช่วยให้ผู้ที่หัดเขียน หาข้อมูลเพื่อมาประกอบการเขียนได้ในเวลาอันรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย ในอดีต เราต้องไปหาตามห้องสมุด ซึ่งห้องสมุดหลายแห่งไม่มีหนังสือหรือข้อมูลที่เราต้องการ แต่ปัจจุบันเรามีห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ อินเตอร์เน็ตนั้นเอง
                         สำหรับคนที่ต้องการเป็นนักเขียนจำเป็นจะต้องท่านทราบในเบื้องต้นก่อนว่างาน เขียนมีอยู่หลายประเภท เช่น งานเขียนประเภทบทความ งานเขียนสารคดี งานเขียนเรียงความ งานเขียนเรื่องสั้น งานเขียนนวนิยาย งานเขียนตำรา และงานเขียนหนังสือทางวิชาการ
                         ซึ่งงานเขียนแต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้าง การใช้ภาษา สำนวน ความน่าสนใจ รูปแบบ ขั้นตอน ผู้ที่ต้องการเป็นนักเขียนต้องรู้ก่อนว่า ตนต้องการจะเขียนงานเขียนประเภทใดแล้วจึงศึกษาหาความรู้ หาอ่านงานเขียนประเภทที่เราต้องการเขียน ต้องการฝึกฝนให้มากๆ
                      สำหรับประเทศไทย มีข้อเท็จจริงในเชิงสถิติที่น่าห่วงใย ปัจจุบันอัตราการอ่านหนังสือของเด็กและเยาวชนไทยต่อปีอยู่ในระดับต่ำมาก โดยเฉลี่ยอยู่ที่ ๕ เล่มต่อคนต่อปีเท่านั้น ต่ำกว่าประเทศเวียดนามที่กำลังเร่งพัฒนาประเทศไล่กวดไทยอยู่ในขณะนี้ หากเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งของไทยอื่นๆ ปรากฏว่าคนสิงคโปร์มีอัตราการอ่านเฉลี่ย ๑๗ เล่มและมาเลเซีย ๔๐ เล่มต่อคนต่อปี ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น มีอัตราการอ่าน ๕๐ เล่มต่อคนต่อปี(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 กพ.52) สำหรับเส้นทางนักเขียนนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ และไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป
                    ถ้าท่านอยากเป็นนักเขียน ท่านต้องมุ่งมั่น ฝึกฝน จง เขียน เขียน และเขียน จงหัดเขียนเรื่องที่ตนถนัดก่อน เพราะการฝืนเขียนเรื่องที่ตนไม่ถนัดนักมันจะทรมานมากกว่าที่จะเกิดความสนุก สนาน ยากนักที่จะประสบความสำเร็จ
                     เมื่อคิดว่าทรมานสุดท้ายก็จะเลิกเขียนในที่สุด จงเขียนด้วยภาษาที่ง่ายๆ บางคนคิดว่าควรเขียนภาษาที่ยากๆ เข้าใจยังหรือคำศัพท์ยากนะดี ความจริงไม่ใช่เลย นักเขียนที่ดีควรใช้ภาษาที่เรียบง่าย เพื่อให้คนอ่านเกิดความเข้าใจที่ตรงกันกับผู้เขียน และถ้าเป็นไปได้จงเขียนทุกๆวัน สำหรับหลายท่านที่ต้องการเป็นนักเขียน มักจะถามกระผมว่าทำอย่างไรจึงจะเข้าสู่วงการเขียนได้
                  สำหรับผมคิดว่า ท่านควรเริ่มเวทีเล็กๆก่อนหรือหาโอกาสส่งข้อเขียนของท่านไปยังหนังสือพิมพ์ ท้องถิ่น วารสารท้องถิ่น ของหน่วยงานก่อน หรือ เขียนแจกให้เพื่อนๆ อ่าน ถ้าใครเป็นครู อาจารย์ ก็สามารถเขียนแล้วให้นิสิต นักศึกษา ดูก่อน อย่าไปคิดใหญ่หรือไกลเกินไป เพราะบางคนบอกว่าถ้าไม่ได้ลงในหนังสือพิมพ์ระดับชาติแล้วจะไม่เขียน ในที่สุดท่านอาจจะไม่ได้เขียน เพราะ หนังสือพิมพ์ระดับชาติ วารสารระดับชาติ ส่วนใหญ่เขาก็จะมีนักเขียนที่มีชื่อเสียงเขียนให้อยู่แล้ว
                 ดังนั้น ขอให้ใช้เวทีเล็กให้เป็นประโยชน์ก่อน เมื่อเขียนเก่ง เมื่อมีชื่อเสียง เดี๋ยว หนังสือพิมพ์ วารสารระดับชาติ เขาก็จะเชิญเอง เนื่องจาก ท่านเขียนดีขึ้น เก่งขึ้น มีชื่อเสียงมากขึ้นนั้นเอง สำหรับ นักเขียนหน้าใหม่ กระผมแนะนำว่า ท่านควรหางานประจำทำเพื่อเลี้ยงชีพก่อน แล้วจึงใช้เวลาว่างจากการทำงาน เขียนบทความ เขียนงานเขียนที่ตนถนัด เพราะถ้าหวังแต่จะหารายได้จากการเขียน ทั้งๆที่ยังไม่ดัง เกรงว่าท่านจะอดตายเสียก่อน จงทำให้ผู้อ่านสนุกสนาน ขณะเดียวกันก็สอนเขาไปด้วย

บทความที่ดี

บทความที่ดี
โดย..สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
            ผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตส่วนใหญ่มักจะเป็นนักสื่อสาร ไม่ว่าจะด้วยการพูดหรือการเขียน ถามถ้าว่าระหว่างการพูดกับการเขียน อะไรยากกว่ากัน ผมเชื่อแน่ว่า คนส่วนใหญ่มักจะบอกว่าเขียนซิยากกว่าพูด
                แต่ การเขียนก็เหมือนกับการพูดอย่างหนึ่งก็คือ ถ้าเราอยากเป็นนักเขียน เราต้องเริ่มศึกษาหาความรู้หลักวิชาการเขียนแล้วจึงเริ่มเขียนครับ เหมือนกัน คนพูดเก่งก็มักจะมีหลักวิชาแล้วจึงพัฒนาฝึกฝนการพูดจนสามารถพูดได้ดี การเขียนก็เช่นกัน
            ดังนั้นเราสามารถพัฒนาการเขียนของเราได้ถ้าเรามีความพยายามเพราะการเขียนมีความสำคัญต่อชีวิต
นักเรียน ต้องเขียน การบ้าน ข้อสอบ รายงานส่งครู  ,  ครู อาจารย์  ต้องเขียน  หนังสือ ตำรา เอกสารประกอบการสอน , นักข่าว ต้องเขียนข่าว  ฯลฯ้วจึงเริ่มเขียนครับ เ

                แต่ถ้าจะพูดถึงงานเขียนแล้วมีหลากหลายประเภทด้วยกัน ไม่ว่างานเขียนนวนิยาย  งานเขียนสารคดี  งานเขียนตำรา  งาน เขียนเรียงความ งานเขียนบันทึก และ งานเขียนบันเทิงคดี เรื่องเล่า นิทาน เรื่องสั้น บทละครพูด ฯลฯ สำหรับบทความฉบับนี้เราจะมาพูดถึงงานเขียนบทความที่ดี
            การเขียนบทความมีความคล้ายกับการเขียนเรียงความ คือ มีชื่อเรื่อง มีคำนำ มีเนื้อเรื่องและสรุปจบ
แต่มีความแตกต่างกันบางประการเช่น บทความมักจะต้องมีความคิดเห็นของผู้เขียนกับข้อเท็จจริงประกอบอ้างอิง
ส่วน เรียงความมักจะมุ่งเรื่องความรู้มากกว่าการแสดงความคิดเห็นของผู้เขียนบท ความ ข้อแตกต่างอีกประการหนึ่งก็คือ การเขียนบทความมักจะมีความทันสมัยมากกว่าการเขียนเรียงความ การเขียนเรียงความอาจเขียนเรื่องในอดีต อนาคต แต่การเขียนบทความผู้เขียนมักจะเขียนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ใน ปัจจุบัน
                สำหรับประเภทของบทความ มีการแบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน เช่น  บทความทางวิชาการ,บทความแสดงความคิดเห็น,บทความเชิงวิจารณ์,บทความประเภทสัมภาษณ์ ฯลฯ

                แต่การเขียนบทความที่ดีส่วนใหญ่มักจะแบ่งส่วนสำคัญออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนแรก คือ ชื่อเรื่อง  ส่วนที่สอง คือ คำนำ ส่วนที่สาม คือ เนื้อเรื้อง ส่วนที่สี่ คือ สรุป จบ
                เรา ลองมาดูส่วนแรกกัน คือชื่อเรื่อง ทำอย่างไรให้ผู้อ่าน เห็นแล้วเกิดอาการอยากอ่าน...อยากรู้....การตั้งชื่อเรื่องที่ดีเป็นอย่าง ไร...ผมอยากแนะนำให้ไปดู พาดหัวตัวใหญ่ หน้าหนึ่ง...หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ต่างๆ เช่น นสพ.ไทยรัฐ , นสพ.เดลินิวส์ ,นสพ.มติชน ฯลฯ เมื่อได้อ่านแล้วเกิดอาการอยากอ่านเนื้อหาต่อ
                ส่วน ที่สองคือ คำนำ ต้องสอดคล้องกับหัวข้อเรื่อง...บอกย่อๆว่า...เกิดอะไร...ที่ไหน...เมื่อไร.. เร้าความสนใจ...คำนำมักจะอยู่ย่อหน้าแรกของบทความ อาจขึ้นต้นด้วยคำถาม อาจขึ้นต้นด้วยการยกตัวอย่างหรือด้วยการเหตุการณ์เพื่อโยงไปถึงส่วนของ เนื้อหา

                ส่วน ที่สาม คือ เนื้อเรื่อง ต้องสอดคล้องกับคำนำและสรุปจบ ...มีความเป็นเอกภาพ...บอกรายละเอียด...มีความกลมกลืน...อาจลำดับเวลา สถานที่ ก่อนหลัง จากอดีต มาปัจจุบัน ไปอนาคต หรือจากน้อยไปหามาก  ส่วนของเนื้อเรื่องจะใช้พื้นที่มากที่สุดในการเขียนบทความ

                ส่วนที่สี่ คือ สรุปจบมักจะเฉลยส่วนสำคัญของเรื่อง....มักจะอยู่ย่อหน้าสุดท้ายของบทความ อาจให้แง่คิดที่สำคัญของบทความที่เขียน  มีความสั้นกระชับ มีความยาวใกล้เคียงกับคำนำ
                สรุป  การ ตั้งชื่อเรื่องต้องหยุดคนอ่านได้ เห็นชื่อเรื่องแล้วอยากรู้อยากอ่านต่อ คำนำต้องยั่วยุให้อยากอ่านเนื้อเรื่อง เนื้อเรื่องต้องกลมกลืน มีเอกภาพ  สรุปจบต้องประทับใจผู้อ่าน

เทคนิคการเขียนบทความ

เทคนิคการเขียนบทความ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
http://www.drsuthichai.com/
คนบางคนมีหนังสือเล่มเดียวในตัวเอง แต่บางคนมีหนังสือเป็นห้องสมุด
                กระผมได้เขียนบทความเกี่ยวกับการเขียนมาหลายบทความแล้วในตอนนี้เราจะมาพูด กันในเรื่องสิ่งที่ต้องทราบก่อนการเขียนบทความ ซึ่งถ้าใครต้องการเขียนบทความท่านควรทราบสิ่งเหล่านี้ก่อน ท่านจึงจะสามารถเขียนบทความได้ดี
                -  ต้องทราบกลุ่มเป้าหมาย ในการเขียนบทความแต่ละบทท่านต้องท่านก่อนว่ากลุ่มเป้าหมายของท่านคือใคร ใครคือผู้อ่านและผู้อ่านของท่านเป็นคนกลุ่มไหน (เช่น อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักการเมือง นักวิชาการ และชนชั้นกลาง ดังนั้นท่านจึงเขียนบทความเกี่ยวข้องกับ การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม) อีกทั้งต้องทราบว่าหนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร สื่อสิ่งพิมพ์ ใดที่กลุ่มเป้าหมายของท่านอ่าน เช่น ถ้าต้องการให้คนสนใจการเมืองอ่านก็ต้องเขียนบทความทางการเมืองลงในหนังสือ พิมพ์ “ มติชน ” หรือหากต้องการให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี ศิลปะวัฒนธรรมก็ต้องเขียนลงในนิตยสาร “ ศิลปะวัฒนธรรม”  หากเป็นกลุ่มเป้าหมายชาวบ้านอ่านก็ต้องเขียนบทความของท่านลงในหนังสือพิมพ์ “ ไทยรัฐ ,เดลินิวส์,บ้านเมือง”  หากว่าเป็นนักธุรกิจหรือคนชั้นกลางอ่านท่านก็ต้องเขียนบทความของท่านลงใน หนังสือพิมพ์ “ ผู้จัดการ หรือ กรุงเทพธุรกิจ ”
                - เมื่อท่านทราบกลุ่มเป้าหมายแล้วท่านต้องมาเรียนรู้เรื่องของเทคนิคในการนำ เสนอ เช่นเรื่องของการ ย่อหน้าจะทำให้ผู้อ่านอ่านบทความของท่านได้ง่ายขึ้น การจับอารมณ์ของสังคมหรือการจับกระแสของสังคมในช่วงสถานการณ์ต่างๆ มีความสำคัญมาก เช่น การเขียนบทความ ตามเรื่องที่ผู้คนในสังคมกำลังสนใจอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนโยบายของรัฐบาลที่มีผลกระทบกับสังคม เรื่องของการทำแท้ง เรื่องของอุบัติเหตุต่างๆในช่วงนั้นๆ หากท่านสามารถเขียนบทความได้ตามกระแส ท่านก็จะได้รับความสนใจจากผู้อ่านมากกว่าการที่ท่านเขียนสิ่งที่ท่านต้องการ นำเสนอแต่ไม่ได้อยู่ในกระแสหรืออารมณ์ของคนในสังคม
                -  สำหรับเนื้อหาของตัวบทความมีความสำคัญมาก สำคัญตั้งแต่การตั้งชื่อเรื่อง การตั้งชื่อเรื่องจะตั้งชื่อเรื่องอย่างไรให้คนสนใจ การขึ้นต้นบทความอย่างไร ถึงจะเรียกร้องความสนใจจากผู้อ่าน เนื้อหาอย่างไรให้สอดคล้องกลมกลืนกับการขึ้นต้นและสรุปจบบทความ
                - การนำเสนอความคิดเห็นอย่างไรถึงจะทำให้ผู้อ่านรู้สึกถึงองค์ความรู้ของผู้ เขียนเพราะบทความมักเน้นเรื่องความคิดเห็นของผู้เขียนมากกว่าเอกสารอ้างอิง หรือหลักฐานต่างๆ ฉะนั้นผู้เขียนบทความที่มีความแหลมคมทางความคิดมากย่อมเป็นที่สนใจของผู้ อ่านเช่น อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ท่านเขียนบทความได้แหลมคมและมีแง่คิดหลายชั้น หลายมุมมอง มาก กระผมเองเคยได้มีโอกาสสอบถามอาจารย์โดยกระผมได้รอพบท่านหลังจากท่านลงจาก เวทีสัมมนาทางวิชาการแห่งหนึ่ง กระผมถามว่า อาจารย์ทำอย่างไร ความคิดถึงแหลมคมเหมือนอาจารย์ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้กรุณาให้คำตอบกระผมและกระผมขออนุญาตนำเสนอ ณ บทความนี้ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ บอกว่า “ เราต้องกล้าเถียงตัวเอง ”
                สำหรับบทความนี้กระผมขอนำเสนอเพียงแค่นี้ก่อน แล้วหากมีโอกาสกระผมจะทยอยเขียนบทความเกี่ยวกับด้านการเขียนอีก เพื่อจะได้เผยแพร่และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับท่านผู้อ่าน มีคนถามกระผมว่า อยากเป็นนักเขียนเหมือนกันแต่ไม่มีเวลาเขียน ความจริงแล้วกระผมว่ามันอยู่ที่ใจรัก หากว่าเรารักในงานเขียนเราย่อมมีเวลาให้ แม้ว่างานจะมีมากมายแค่ไหน  ลองถามใจตนเองว่าเรารักการเขียนมากน้อยแค่ไหน
                                ถ้าท่านต้องการเป็นนักเขียนที่ดี ท่านจำเป็นต้องเขียน เขียนและเขียน